มุมมอง 4 ผู้บริหารชั้นนำวงการไอที นำเทคโนโลยีช่วยวิกฤตไทยช่วง COVID-19

Home »  News »  มุมมอง 4 ผู้บริหารชั้นนำวงการไอที นำเทคโนโลยีช่วยวิกฤตไทยช่วง COVID-19


23 / 03

มุมมอง 4 ผู้บริหารชั้นนำวงการไอที นำเทคโนโลยีช่วยวิกฤตไทยช่วง COVID-19

 

มุมมอง 4 ผู้บริหารชั้นนำจากวงการไอที กับการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤติ COVID-19 ทั้งในเรื่องการปรับตัวของบริษัทให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work from Home) การเสพสื่ออย่างมีสติ รวมถึงการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

 

“ภาครัฐต้องอาศัยวิกฤตนี้ร่วมกับหน่วยงานและเอกชนทำ Big Data ถ้าเราไม่ทำ ความเห็นแก่ตัวจะแทรกแซงความเสียสละ” – กฤษดา สาธุกิจชัย CEO บริษัท เนทติเซนท์ จำกัด (Netizen)

 

คุณกฤษดา สาธุกิจชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร บริษัท เนทติเซนท์ จำกัด (Netizen)

คุณกฤษดา สาธุกิจชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร บริษัท เนทติเซนท์ จำกัด (Netizen)

 

Netizen เราเริ่มเห็นวิกฤตนี้ตั้งแต่ปี 2011 ช่วงน้ำท่วมประเทศไทย หลายองค์การต่างตื่นตระหนก ทำอะไรกันไม่ถูก บุคลากรเราเองก็ต้องพายเรือเข้าไปถอด Hard Drive เพื่อนำเอาข้อมูลลูกค้าออกมา หลังจากผ่านพ้นวิกฤตนั้น เราเลยมองเห็นถึงความสำคัญของการใช้งานบน Cloud เพื่อให้องค์กรและลูกค้าสามารถทำงาน และดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในช่วงวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น

ในสภาวะการณ์ปัจจุบันไวรัสโคโรนา ทำให้รูปแบบของธุรกิจทั้ง Supply chain เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก โดยเฉพาะฐานการผลิตขนาดใหญ่ของจีน ที่ส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ จึงทำให้ทุกองค์กรต้องเริ่มคิด และผลักดันแนวคิดในการทำธุรกิจใหม่ (New Business Model) ด้วยการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีจาก IT, ERP หรือ Big Data เข้ามาใช้งานภายในองค์กร รวมถึงในอนาคตเราควรจะวางแผนการเตรียมฐานการผลิตในประเทศอื่นๆที่ใกล้เคียง เพื่อลดความเสี่ยง หรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม

แทนที่เราจะเครียดและกังวลใจกับข่าวปลอม เราควรตั้งสติและหันมาเริ่มหาวิธีจัดการและปรับตัว เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ กลุ่มธุรกิจระดับกลางถือเป็นกลุ่มที่น่าห่วงที่สุด เนื่องจากความไม่พร้อมทั้งในด้านเทคโนโลยีและบุคลากร รายได้หาย ในขณะที่รายจ่ายยังคงอยู่

องค์กรไทยจึงควรต้องเตรียมพร้อมด้านไอที 10 ข้อ ดังนี้

 

Netizen เตรียมพร้อมด้านไอที 10 ข้อ Work from home ในวิกฤต COVID-19

Netizen เตรียมพร้อมด้านไอที 10 ข้อ Work from home ในวิกฤต COVID-19

 

  1. IP PBX ระบบโทรศัพท์ที่สามารถใช้งานผ่านเทคโนโลยี Cloud เช่น Sangoma, 3BB, CAT, True Cloud
  2. Online Document Software สร้างหรือแก้ไขเนื้อหาร่วมกันได้แบบ Real time เช่น Origami, G Suite, Office365 และ Zoho
  3. Chat ช่องทางการติดต่อสื่อสาร เช่น Hangouts, Line, WhatsAPP และ Wechat
  4. Video Conference สำหรับใช้ในการประชุมร่วมกัน เช่น Hangouts, Zoom, Webex และ Microsoft Teams
  5. File Sharing ระบบการบริหารจัดการไฟล์ หรือข้อมูล เช่น Google Drive, zDOX, OneDrive และ Dropbox
  6. Project Management System ระบบการบริหารจัดการโครงการ เช่น Origami, Trello, Basecamp และ Asana
  7. HR Cloud ระบบจัดการข้อมูลบุคลากรภายในองค์กร เช่น Origami, SAP SuccessFactors, OneDee.ai และ Happy work
  8. CCTV ระบบกล้องวงจรปิด เช่น ProSecure Security และ Fujiko
  9. Workflow Approval Process ระบบบริหารโครงการ g=
  10. Cloud ERP ระบบบริหารจัดการธุรกิจ ERP บน Cloud และ E-Tax Invoice

ขณะนี้เป็นเวลาสำคัญที่ทุกองค์กรต่างพร้อมที่จะเสียสละ เพื่อช่วยฟื้นฟูสังคมและสภาพเศรษฐกิจ ถือเป็นโอกาสของภาครัฐ หันมาให้ความสำคัญกับ Big Data เช่น กล้องวงจรปิด สามารถดึงข้อมูลจากทุกหน่วยงานเข้ามาที่เดียว เพราะเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคต ในขณะที่เวลานี้องค์กรเอกชน ก็พร้อมร่วมแรงร่วมใจ เสียสละเพื่อไปด้วยกัน

ไม่ใช่เพียงการต่อสู้กับวิกฤต COVID-19 เท่านั้น แต่เราต้องเตรียมการเพื่อพร้อมรับมือต่อวิกฤตหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆที่อาจส่งผลกระทบต่อสังคมเศรษฐกิจองค์รวมซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้

หากยังไม่มีใครเริ่มทำในเวลานี้ โดยเฉพาะหน่วยงานกลาง อีกไม่นานการเสียสละนั้น จะนำไปสู่สภาวะถดถอย ซึ่งทุกธุรกิจเองก็คงไม่อยากให้ถึงสภาวะแบบนั้น”

 

“สิ่งที่สำคัญคือเราต้องตั้งสติกันให้ได้ ต้องมีความพร้อมทั้งเรื่อง คน วินัย และนโยบาย” –ธนชาติ นุ่มนนท์ผู้อำนวยการ สถาบัน IMC Institute

 

ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ผู้อำนวยการ สถาบัน IMC Institute

ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ผู้อำนวยการ สถาบัน IMC Institute

 

วิกฤติครั้งนี้จะเป็นโอกาสให้ SMEs ปรับตัว จะต้องมองให้ออกว่า 2-3 ต่อจากนี้จะทำงานอย่างไร Work from Home บุคลากรต้องมีการเตรียมความพร้อมและสร้างวินัย รวมถึงนโยบายของบริษัทจะต้องชัดเจน ในเวลาทำงานลูกจ้างจะต้องพร้อมทำงานจริง ๆ ถ้าไม่สะดวกก็จะต้องลางาน แต่ส่วนที่ยาก คือการทำงานร่วมกันให้ได้ในวิกฤติครั้งนี้ ถือว่าเป็นโอกาสในการปรับตัว จะเห็นว่าภาครัฐบางกระทรวงเริ่มปรับตัว มหาวิทยาลัยก็เริ่มปรับตัว

คนตื่นตระหนกมากเกินไป จะต้องหยุดเสพข่าว ตั้งสติ และวิเคราะห์แบบมีเหตุผล กลับมาดูว่าจะปรับการทำงานอย่างไร ต้องระวังตัวเอง ต้องรับผิดชอบ

ภาครัฐไทยเองก็ทำในระดับหนึ่ง แต่จะให้สำเร็จในวันนี้คงไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น จีนเก็บข้อมูลกันมานานแล้ว และใช้ข้อมูลที่ค่อนข้างละเมิดส่วนบุคคล มีระบบวิเคราะห์ข้อมูล ขณะที่ไทยภาครัฐจะต้องประสานกับเอกชนมากขึ้น ดึงข้อมูลจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมอย่างไร ดึงจากโรงพยาบาลอย่างไร หรือจากคนที่เดินทางเข้า-ออกประเทศอย่างไร อีกส่วนคือต้องดูตัวเลขจากต่างประเทศคือ คนติดเท่าไหร่ เสียชีวิตเท่าไหร่ สัดส่วนคนที่ป่วยและเสียชีวิตเป็นเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก

เราเชื่อว่าภาครัฐก็พยายามทำบางอย่าง ถ้าเราติดตามความเคลื่อนไหว แต่เข้าใจว่าอาจจะช้าเพราะติดเรื่องนโยบาย ต้องรอผู้บริหารสูงสุด เป็นสไตล์การทำงานของภาครัฐไทย

 

“ภาคธุรกิจจะต้องฟังผู้บริโภคมากขึ้น ประชาชนเสพสื่ออย่างมีสติ เพราะหลังจากจบ COVID-19 ทุกอย่างจะเปลี่ยนไป” – กล้า ตั้งสุวรรณ CEO บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด

 

นายกล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด

นายกล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด

 

นักท่องเที่ยวหาย คนทั่วไปไม่ออกไปข้างนอก ธุรกิจเริ่มทำงานที่บ้าน เราจะปรับตัวอย่างไร บริษัทที่ปรับตัวได้จะสามารถประชุมทางไกลได้ แต่ถ้าทุกบริษัทยังทำไม่ได้

คนไทยต้องช่วยตัวเองก่อน เทคโนโลยีถึงจะเข้ามาช่วยให้มีประสิทธิภาพได้ ทำให้มีเวลามากขึ้น ในภาวะวิกฤตเวลาสำคัญมาก คนตื่นตระหนก เพราะเสพสื่อจากโซเชียล แต่ไม่รู้ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เช่น เรื่องผีน้อย สิ่งที่ช่วยภาครัฐได้คือการยืนยันข้อมูลที่ถูกต้อง ถ้าเรามีข้อมูลมากคนจะไม่ตื่นตระหนก

สหรัฐฯ ใช้เทคนิคให้ภาครัฐสื่อสารกับประชาชนได้มากขึ้น ในการกักกันผู้ป่วย เพื่อลดการถูก Bully รวมถึง Social Distancing เพื่อลดการแพร่กระจายของคนป่วย
เทคโนโลยีพื้นฐานของไทยดีกว่าเพื่อนบ้าน ทั้งอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ที่ราคาไม่แพง แต่การสอนคนเป็นเรื่องยาก คนจะต้องรับผิดชอบดูว่าในวันนี้เราต้องทำงานอะไรและทำให้เสร็จ

โซเชียลเป็นสังคมของคนขี้บ่น ถ้ามีเพื่อนเราบ่นเรื่องเดียวกันสักครึ่งหนึ่ง เราจะเริ่มคิดแล้วว่ามันจริง เราอยากให้คนมีสติมากขึ้น

ธุรกิจช้อปปิ้งออนไลน์ หรือส่งของกิน จะเติบโตขึ้น ผู้ประกอบการไหนที่คิดออกก็จะรอด ภาคธุรกิจจะต้องฟังผู้บริโภคมากขึ้น เพราะหลังจากจบ COVID-19 ทุกอย่างจะเปลี่ยนไป จะเกิดการปรับตัวของภาคธุรกิจจะมีคนที่รอดและคนที่ตายจากไป

สามารถติดตาม เพจและแอปพลิเคชันได้ที่ 
– เป็ดไทยสู้ภัย
-COVID Tracker เว็บรายงานผู้ติดเชื้อ-พื้นที่เสี่ยง COVID-19 ในไทย
-DDC-Care แอปฯ ติดตามกลุ่มเสี่ยงติด COVID-19
-GISTDA เผย 5 แนวคิดใช้แผนที่ รับมือโควิด-19

 

“ถ้าไม่มี Big Data ที่ดี Ai จะไม่เกิด เทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือ แต่เราต้องปรับตัวใช้กับการเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว” –อสมา กุลวานิชไชยนันท์ CEO และ Co-founder CORALINE

 

ดร.อสมา กุลวานิชไชยนันท์ CEO และ co-founder CORALINE

ดร.อสมา กุลวานิชไชยนันท์ CEO และ co-founder CORALINE

 

Big Data ต้องมีข้อมูลมาก เร็ว หลากหลายช่องทาง มีความถูกต้องแม่นยำ แต่ที่ประเทศไทยตอนนี้ยังมีไม่ครบ เพราะถ้าไม่มี Big Data ที่ดี AI จะไม่เกิด บางหน่วยงานยังเก็บข้อมูลในกระดาษอยู่ เก็บในไฟล์เอกสาร เก็บคนละโปรแกรม ทำให้เอามารวมกันไม่ได้ รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่แตกต่างกัน ซึ่งตอนนี้เป็นโอกาสที่แต่ละหน่วยงานจะปรับตัว

“จีน” ใช้ AI มาตั้งแต่ปี 2014 และทำ Big Data เสร็จก่อนแล้ว “เกาหลีใต้” ทำเว็บไซต์เพื่อติดตามผู้ป่วย และ “ไต้หวัน” ให้กลุ่มเสี่ยงเปิด GPS ไว้และทำการติดตามผ่าน SMS ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีมาก

เราใช้แอปพลิชันควบคุมการทำงานที่บ้านของพนักงาน ตรวจสอบได้ว่าใครทำงาน เมื่อเสร็จระบบจะแจ้งเข้ามาว่าใครทำงานเสร็จแล้ว ซึ่งไม่มีปัญหา เราต้องมองย้อนจุดอ่อนของบริษัท เช่น SMEs ที่ต้องไปขายที่หน้าร้าน จะต่อยอดอย่างไร การทำงานที่บ้านจะต้องค่อยๆ ปรับตัว

Open Data ก็เป็นสิ่งสำคัญ ต้องแชร์ข้อมูลที่แชร์ได้ ประเทศไทยขาดการออกแบบการใช้ข้อมูล เพราะเราซื้อเทคโนโลยีจากต่างชาติมาใช้ตลอด

จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยขาด Data Engineer การรวมข้อมูลเพื่อนำไปเสนอ ตอนนี้เป็นโอกาสที่จะเข้ามาแสดงฝีมือได้ เราจะต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยกรองเพื่อให้ประชาชนได้ข้อมูลที่ชัดเจน

เราไม่รู้ว่าหน่วยงานรัฐไหนเป็นหน่วยงานกลาง และเข้าไปจี้กันไม่ได้ ขณะที่เอกชนมีความพร้อมกว่ามาก เพราะการทำงานของเอกชนถูกวัดด้วย KPI ซึ่งเราเป็นบริษัทที่ทำเพื่อความอยู่รอด ต้องมีกำไร เราจะสนับสนุนอยู่ได้ไม่นาน เพราะฉะนั้นภาครัฐจะต้องเข้ามานำ

 

สนใจโซลูชัน Netizen SAP ERP Solutions ติดต่อ

Call: 02-090-6868
Email: sales@netizen.co.th
www.netizen.co.th

Reference : https://businesstoday.co/technology/16/03/2020/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA-covid-19-%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2-it-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-big-data/